16.อบเชยไทย



อบเชยไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet 
ชื่อสามัญ (Common Name: Cinnamon
ชื่อเรียกอื่น ๆ (Other Names) บอกคอก (ลำปาง)พญาปราบ (นครราชสีมา)สะวง (ปราจีนบุรี)กระดังงา (กาญจนบุรี)ฝักดาบ (พิษณุโลก)สุรามิด (สุโขทัย)กระแจกโมง โมงหอม (ชลบุรี)กระเจียด เจียดกระทังหัน (ยะลา)อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง) ฯลฯ
ชื่อวงศ์ (Family Name) : Lauraceae
ลักษณะ (Characteristics) :  อบเชยไทยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกและใบมีกลิ่นหอม ใบอบเชยไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกอบเชยไทย ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน ผลอบเชยไทย ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลแข็ง ตามผิวผลมีคราบขาว แต่ละมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลมีลักษณะเป็นรูปถ้วย
การกระจายพันธุ์ (Distribution) : อบเชยชนิดจะพบได้ในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์หรือป่าดงดิบทั่วไปในประเทศไทย
ช่วงเวลาการออกดอก (Flowering Time) : ไม่มีข้อมูล

ประโยชน์ (Use and Utilizations) : อบเชยเป็นเครื่องยา และเครื่องเทศ ที่ได้จากการขูดเอาเปลือกชั้นนอกออกให้หมด  แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น โดยใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง แล้วรวบรวมนำไปผึ่งที่ร่มสลับกับการนำออกตากแดดประมาณ วัน  ขณะตากใช้มือม้วนขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน  จนเปลือกแห้งจึงมัดรวมกัน เปลือกอบเชยที่ดีจะมีสีน้ำตาลอ่อน(สีสนิม) มีความตรงและบางสม่ำเสมอ ยาวประมาณ เมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย
สรรพคุณ (Medicinal Uses) : ตามตำราไทย น้ำต้มเปลือกต้น ดื่มแก้ตับอักเสบ อาหารไม่ย่อย แก้ท้องเสีย ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ขับพยาธิ มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต  แก้อ่อนเพลีย  ชูกำลัง  ขับผายลม  บำรุงธาตุ  แก้บิด  แก้ลมอัณฑพฤกษ์   แก้ไข้สันนิบาต   ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์แก้ปวดหัว รับประทานแก้เบื่ออาหาร  แก้จุกเสียด แน่นท้อง   แก้ไอ  แก้ไข้หวัด  ลำไส้อักเสบ  ท้องเสียในเด็ก  อาการหวัด  ปวดปะจำเดือน แก้อ่อนเพลีย  คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดประจำเดือน  ห้ามเลือด บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล
แหล่งอ้างอิง (References) : 
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). อบเชย. สืบค้น 30 ตุลาคม 2560, จาก http://www.thaicrudedrug.com. 
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2557). เชียดอบเชยต้น.  สืบค้น 30 ตุลาคม 2560, จาก www.goldenjubilee-king50.com.
จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2556). สมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.  กรุงเทพฯ: ปนิดา เกิดดอนแฝก. 
 MedThai. (2557). อบเชย สรรพคุณและประโยชน์ของอบเชย 48 ข้อ.  สืบค้น 30 ตุลาคม 2560, จาก https://medthai.com.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

01.กานพลู

07.พริกไทย

08.พิลังกาสา