บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2018

17.อัญชัน

รูปภาพ
อัญชัน “ไม้เถาสีครามแก่” ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific name ) :   Clitoria ternatea Linn . ชื่อสามัญ ( Common name ) :   Clitoria, Butterfly Pea  และ  Blue Pea ชื่อเรียกอื่น ( Other names ) :  อัญชัน อังจัน แดงชัน เอื้องชัน ชื่อวงศ์ ( Family name )  :  Leguminosea ลักษณะ ( Characteristics ) :  อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด การกระจายพัน

16.อบเชยไทย

รูปภาพ
อบเชยไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific Name )   :  Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet   ชื่อสามัญ ( Common Name )  : Cinnamon ชื่อเรียกอื่น ๆ  (Other Names)   :  บอกคอก (ลำปาง) ,  พญาปราบ (นครราชสีมา) ,  สะวง (ปราจีนบุรี) ,  กระดังงา (กาญจนบุรี) ,  ฝักดาบ (พิษณุโลก) ,  สุรามิด (สุโขทัย) ,  กระแจกโมง โมงหอม (ชลบุรี) ,  กระเจียด เจียดกระทังหัน (ยะลา) ,  อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง)  ฯลฯ ชื่อวงศ์  (Family Name ) : Lauraceae ลักษณะ  (Characteristics) :     อบเชยไทยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกและใบมีกลิ่นหอม ใบอบเชยไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกอบเชยไทย ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว

15.รางจืด

รูปภาพ
รางจืด สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม https://bluetrumpetvine.blogspot.com/2017/11/blog-post.html?m=1&fbclid=IwAR3ahZUyCw2M_GpHtOtcxhaRTSNCeWZas0cbOw_nVHIgmWTEQ7ImxhUJEcs

14.ย่านาง

รูปภาพ
ย่านาง ใบย่านาง  หรือ  ย่านาง   เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กที่คนโบราณนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำอาหาร โดยเฉพาะส่วนของใบที่นิยมนำมาตำหรือบดเพื่อคั้นน้ำจากใบมาใช้สำหรับปรุงอาหารทำให้เพิ่มรสชาติ มีรสหวานธรรมชาติ สีอาหารเขียวเข้มออกดำ และมีลักษณะข้นเป็นยาง ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Tiliacora   triandra  ( Colebr .) Diels ชื่อพื้นเมือง  : ภาคกลาง  เถาย ่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี เชียงใหม่  จ้อยนาง จอ ยนาง  ผักจอ ยนาง ภาคใต้  ย่านนาง ยานนาง ขันยอ ภาคอีสาน  ย่านาง ไม่ระบุถิ่น  เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม ชื่อวงศ์  :   MENISPERMACEAE ชื่อสามัญ  :   Bamboo grass ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  • ลำต้นต้น ย่านาง เป็นไม้เลื้อย มีเถากลมเล็ก สีเขียว เถายาวได้มากกว่า 5-10 เมตร แตกกิ่งเถาจำนวนมาก เถามีลักษณะเหนียว เถาอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อจะสีเขียวเข้ม และมีข้อห่าง • ราก รากใต้ดินมีขนาดใหญ่กว่าเถา 1-2 เท่า มีลักษณะเป็นรากยาว สีน้ำตาล แตกแขนงเป็นรากฝอยด้านข้างแบบห่างๆ สามารถซอนไซในดินได้ลึกมากกว่า 1-2 เมตร • ใบ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว

13.มะรุม

รูปภาพ
มะรุม มะรุม มะรุม ชื่อสามัญ  Moringa มะรุมชื่อ วิทยาศาสตร์  Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์  MORINGACEAE สมุนไพรมะรุม  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในข

12.มะตูม

รูปภาพ
มะตูม มะตูม ชื่อสามัญ  Beal ชื่อวิทยาศาสตร์  Aegle marmelos (L.) Corrêa จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) สมุนไพรมะตูม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปิน (ภาคเหนือ), ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะต้นทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นมีความสูง 18 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็ง มีสีขาวแกมเหลือง และมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ยาว แข็ง ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่ง  ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกมี 3 ใบ มองดูคล้ายตรีศูลของพระศิวะ ดอกสีขาวหรือขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลมีเปลือกแข็งเรียบและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-15 เซนติเมตร บางผลมีเปลือกแข็งมากจนต้องกระเทาะเปลือกออกโดยใช้ค้อนทุบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม และมีเมล็ดจำนวนมากแทรกอยู่ในเนื้อผล โดยเมล็ดจะมีขนหนาปกคลุม ประโยชน์ของมะตูม ตำรายาไทย: ผลอ่อน รสฝาดร้อนปร่าขื่น ฝานบางๆ สดหรือแห้ง ชงน้ำรับประทานแก้ท้องเสีย แก้บิด  สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม https://baelfruittree.blogspot.com/?m=1&fbclid=IwAR30swBNLxswN95M7XGKVEo9ucFRkpu4M3zFOFmQfpcXsTlhzwpKPbaYLtI

11.มะขามป้อม

รูปภาพ
มะขามป้อม มะข้ามป้อม มะขามป้อม ชื่อสามัญ  Indian gooseberry มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม ( PHYLLANTHACEAE ) มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย มะขามป้อม  จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และ คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว เน

10.มะเกลือ

รูปภาพ
มะเกลือ มะเกลือ มะเกลือ ภาษาอังกฤษ  Ebony tree มะเกลือ ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ ( EBENACEAE ) สมุนไพรมะเกลือ  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มักเกลือ (เขมร-ตราด), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ), มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), มะเกลื้อ (ทั่วไป) เป็นต้น ลักษณะของมะเกลือ ต้นมะเกลือ  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่าและไทย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และต้นมะเกลือจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี นอกจากนี้ต้นมะเก

09.เพกา

รูปภาพ
เพกา เพกา เพกา ชื่อสามัญ  Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower เพกา ชื่อวิทยาศาสตร์  Oroxylum indicum (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง ( BIGNONIACEAE ) สมุนไพรเพกา  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน) เป็นต้น ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ฝักอ่อนของเพกา  ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินซีถึง 484 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ และยังประกอบไปด้วยมีวิตามินเอสูงถึง 8,300 มิลลิกรัม (ซึ่งพอ ๆ กับตำลึงเลยทีเดียว), ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, โปรตีน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, เส้นใย 4 กรัม ยอดอ่อนของเพกา  ต่อน้ำ

08.พิลังกาสา

รูปภาพ
พิลังกาสา ชื่อวงศ์  :   MYRSINACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์  :    Ardisia   polycephala    Wall . ชื่อสามัญ  :   Ardisia   Polycephala ชื่อพื้นเมือง  : ผักจำ, ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย), ตีนจำ (เลย),  ลังพิ สา (ตราด), ทุรังกาสา (ชุมพร), ราม (สงขลา), ปือนา (มลายู- นราธิวาส) , จิง จ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด, ทุกังสา และ มาตา อาแย ประโยชน์   : คุณสมบัติชั้นเลิศที่มีความโดดเด่นใน การป้องกัน และรักษาโรคมะเร็งในตับได้ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยบำรุงตับ ฟื้นฟูตับแข็ง แก้น้ำเหลืองเสียง แก้โรคเรื้อน และแก้กามโรคได้เป็นอย่างดี ลักษณะ( Characteristics ) :  ต้นพิลังกาสา   เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ2-3เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก  ใบพิลังกาสา  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นคู่ ๆ  ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก แผ่นใบเป็นสีเขียวมัน  มีลักษณะหนาและใหญ่ ส่วนยอดอ่อนเป็นสีแดง  ดอกพิลังกาสา  ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือ ตามส่วนของยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล , สีชมพูอมขาว หรือสีขาวแ

07.พริกไทย

รูปภาพ
พริกไทย พริกไทย พริกไทย ชื่อสามัญ  Pepper พริกไทย ชื่อวิทยาศาสตร์  Piper nigrum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย ( PIPERACEAE ) พริกไทย  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย (ภาคเหนือ), พริก (ใต้) เป็นต้น ลักษณะพริกไทย  ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลม ๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง สายพันธุ์พริกไทย  พริกไทยที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง สมุนไพรพริกไทย  เป็นพืชที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และป็นราชาแห่งเครื่องเทศที

06.พญาสัตบรรณ

รูปภาพ
พญาสัตบรรณ พญาสัตบรรณ ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific name ) :  Alstonia scholaris  ( L .)  R .  Br . ชื่อสามัญ ( Common name ) :  Devil Tree, White Cheesewood, Black Board Tree, Dita Bark ชื่อเรียกอื่น ( Other names ) :  พญาสัตบรรณ  ตีนเป็ดไทย หัสบรรณ (กาญจนบุรี) ชื่อวงศ์ ( Family name ) :  APOCYNACEAE ลักษณะ ( Characteristics ) :  ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ  12 - 20  เมตร โคนต้นเป็นพูพอนเปลือกสีเทา ผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก แตกกิ่งออกรอบข้อ ลักษณะเป็นชั้น ๆ ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกรอบข้อ  4 - 7  ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียว ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว รูปใบหอกกลับแกม ขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายกลมหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบแหลมหรือเป็นครีบ เส้นใบถี่ ขนาดใบยาวประมาณ  10 - 12  เซนติเมตร ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นคล้ายฉัตร ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ  7  กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่น กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก  5  แฉก เกสรตัวผู้  5  อัน ผล  เป็นฝักรูปกลมยาว เมื่อแก่แตกเป็น  2  ซีก