17.อัญชัน



อัญชัน





“ไม้เถาสีครามแก่”




ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Clitoria ternatea Linn.
ชื่อสามัญ (Common name) : Clitoria, Butterfly Pea และ Blue Pea
ชื่อเรียกอื่น (Other names) : อัญชัน อังจัน แดงชัน เอื้องชัน
ชื่อวงศ์ (Family name) : Leguminosea
ลักษณะ (Characteristics) : อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

การกระจายพันธุ์ (Distribution) : อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ในลาว ไทย เวียดนาม

ช่วงเวลาออกดอก (Flowering Time) : อัญชันเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกตลอดปี
ประโยชน์ (Uses and Utilization) : การนำสีจากดอกอัญชันไปผสมอาหารและขนมให้มีสีสันสวยงาม นำดอกสดมารับประทานเป็นเครื่องเคียงคู่กับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ นำมาต้มดื่ม หรือนำไปปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามรั้ว และการนำมาใช้บำรุงผมให้ดกดำเงางาม รักษาอาการผมร่วงหรือผมบาง
สรรพคุณ (Medicinal uses) : ยาพื้นบ้านอีสานใช้รากฝนกับรากสะอึกและน้ำซาวข้าว กินหรือทาแก้งูสวัด ตำรายาไทยใช้เมล็ดรสมันเป็นยาระบาย แต่มักทำให้คลื่นไส้อาเจียน  รากรสขมเย็นนิยมใช้รากดอกขาว  ขับปัสสาวะเป็นยาระบาย ฝนหยอดตาแก้ตาเจ็บ ตาฟาง ทำให้ตาสว่าง ทำยาสีฟัน ใช้รากถูฟัน ทำให้ฟันทน แก้ปวดฟัน รากรสเบื่อเมาปรุงเป็นยากินและพอกถอนพิษสุนัขบ้า
แหล่งอ้างอิง (References) : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. พรรณไม้เกียรติประวัติของไทย.บริษัทประชาชน จำกัด:กรุงเทพมหานคร.



ที่มา : http://www.aroka108.comอัญชัน-สมุนไพร-เพื่อสุขภาพ/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

01.กานพลู

07.พริกไทย

08.พิลังกาสา