14.ย่านาง



ย่านาง



ใบย่านาง หรือ ย่านาง เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กที่คนโบราณนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำอาหาร โดยเฉพาะส่วนของใบที่นิยมนำมาตำหรือบดเพื่อคั้นน้ำจากใบมาใช้สำหรับปรุงอาหารทำให้เพิ่มรสชาติ มีรสหวานธรรมชาติ สีอาหารเขียวเข้มออกดำ และมีลักษณะข้นเป็นยาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels

ชื่อพื้นเมือง :
ภาคกลาง เถาย่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี
เชียงใหม่ จ้อยนาง จอยนาง ผักจอยนาง
ภาคใต้ ย่านนาง ยานนาง ขันยอ
ภาคอีสาน ย่านาง
ไม่ระบุถิ่น เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

ชื่อสามัญ :  Bamboo grass

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
• ลำต้นต้น
ย่านาง เป็นไม้เลื้อย มีเถากลมเล็ก สีเขียว เถายาวได้มากกว่า 5-10 เมตร แตกกิ่งเถาจำนวนมาก เถามีลักษณะเหนียว เถาอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อจะสีเขียวเข้ม และมีข้อห่าง
• ราก
รากใต้ดินมีขนาดใหญ่กว่าเถา 1-2 เท่า มีลักษณะเป็นรากยาว สีน้ำตาล แตกแขนงเป็นรากฝอยด้านข้างแบบห่างๆ สามารถซอนไซในดินได้ลึกมากกว่า 1-2 เมตร
• ใบ
ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว แตกออกข้างลำต้นแบบสลับกันคนละข้าง ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ขอบขนาน ปลายใบเรียว ส่วนฐานใบมน ใบยาว 5-12 เซนติเมตร กว้าง 3-6 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ไม่เป็นหยัก ผิวใบมีลักษณะเป็นมัน และเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง สีเขียวอ่อน และสีเขียวแก่ตามลำดับเมื่ออายุใบมากขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

01.กานพลู

07.พริกไทย

08.พิลังกาสา