บทความ

17.อัญชัน

รูปภาพ
อัญชัน “ไม้เถาสีครามแก่” ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific name ) :   Clitoria ternatea Linn . ชื่อสามัญ ( Common name ) :   Clitoria, Butterfly Pea  และ  Blue Pea ชื่อเรียกอื่น ( Other names ) :  อัญชัน อังจัน แดงชัน เอื้องชัน ชื่อวงศ์ ( Family name )  :  Leguminosea ลักษณะ ( Characteristics ) :  อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด การกระจายพัน

16.อบเชยไทย

รูปภาพ
อบเชยไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific Name )   :  Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet   ชื่อสามัญ ( Common Name )  : Cinnamon ชื่อเรียกอื่น ๆ  (Other Names)   :  บอกคอก (ลำปาง) ,  พญาปราบ (นครราชสีมา) ,  สะวง (ปราจีนบุรี) ,  กระดังงา (กาญจนบุรี) ,  ฝักดาบ (พิษณุโลก) ,  สุรามิด (สุโขทัย) ,  กระแจกโมง โมงหอม (ชลบุรี) ,  กระเจียด เจียดกระทังหัน (ยะลา) ,  อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง)  ฯลฯ ชื่อวงศ์  (Family Name ) : Lauraceae ลักษณะ  (Characteristics) :     อบเชยไทยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกและใบมีกลิ่นหอม ใบอบเชยไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกอบเชยไทย ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว

15.รางจืด

รูปภาพ
รางจืด สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม https://bluetrumpetvine.blogspot.com/2017/11/blog-post.html?m=1&fbclid=IwAR3ahZUyCw2M_GpHtOtcxhaRTSNCeWZas0cbOw_nVHIgmWTEQ7ImxhUJEcs

14.ย่านาง

รูปภาพ
ย่านาง ใบย่านาง  หรือ  ย่านาง   เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กที่คนโบราณนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำอาหาร โดยเฉพาะส่วนของใบที่นิยมนำมาตำหรือบดเพื่อคั้นน้ำจากใบมาใช้สำหรับปรุงอาหารทำให้เพิ่มรสชาติ มีรสหวานธรรมชาติ สีอาหารเขียวเข้มออกดำ และมีลักษณะข้นเป็นยาง ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Tiliacora   triandra  ( Colebr .) Diels ชื่อพื้นเมือง  : ภาคกลาง  เถาย ่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี เชียงใหม่  จ้อยนาง จอ ยนาง  ผักจอ ยนาง ภาคใต้  ย่านนาง ยานนาง ขันยอ ภาคอีสาน  ย่านาง ไม่ระบุถิ่น  เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม ชื่อวงศ์  :   MENISPERMACEAE ชื่อสามัญ  :   Bamboo grass ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  • ลำต้นต้น ย่านาง เป็นไม้เลื้อย มีเถากลมเล็ก สีเขียว เถายาวได้มากกว่า 5-10 เมตร แตกกิ่งเถาจำนวนมาก เถามีลักษณะเหนียว เถาอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อจะสีเขียวเข้ม และมีข้อห่าง • ราก รากใต้ดินมีขนาดใหญ่กว่าเถา 1-2 เท่า มีลักษณะเป็นรากยาว สีน้ำตาล แตกแขนงเป็นรากฝอยด้านข้างแบบห่างๆ สามารถซอนไซในดินได้ลึกมากกว่า 1-2 เมตร • ใบ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว

13.มะรุม

รูปภาพ
มะรุม มะรุม มะรุม ชื่อสามัญ  Moringa มะรุมชื่อ วิทยาศาสตร์  Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์  MORINGACEAE สมุนไพรมะรุม  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในข

12.มะตูม

รูปภาพ
มะตูม มะตูม ชื่อสามัญ  Beal ชื่อวิทยาศาสตร์  Aegle marmelos (L.) Corrêa จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) สมุนไพรมะตูม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปิน (ภาคเหนือ), ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะต้นทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นมีความสูง 18 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็ง มีสีขาวแกมเหลือง และมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ยาว แข็ง ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่ง  ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกมี 3 ใบ มองดูคล้ายตรีศูลของพระศิวะ ดอกสีขาวหรือขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลมีเปลือกแข็งเรียบและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-15 เซนติเมตร บางผลมีเปลือกแข็งมากจนต้องกระเทาะเปลือกออกโดยใช้ค้อนทุบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม และมีเมล็ดจำนวนมากแทรกอยู่ในเนื้อผล โดยเมล็ดจะมีขนหนาปกคลุม ประโยชน์ของมะตูม ตำรายาไทย: ผลอ่อน รสฝาดร้อนปร่าขื่น ฝานบางๆ สดหรือแห้ง ชงน้ำรับประทานแก้ท้องเสีย แก้บิด  สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม https://baelfruittree.blogspot.com/?m=1&fbclid=IwAR30swBNLxswN95M7XGKVEo9ucFRkpu4M3zFOFmQfpcXsTlhzwpKPbaYLtI

11.มะขามป้อม

รูปภาพ
มะขามป้อม มะข้ามป้อม มะขามป้อม ชื่อสามัญ  Indian gooseberry มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม ( PHYLLANTHACEAE ) มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย มะขามป้อม  จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และ คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว เน